รางวัลเกียรติยศ ของ วิลเลียม สแตนดิช โนลส์

รางวัลโนเบลสาขาเคมี

โนลส์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีกึ่งหนึ่งใน ค.ศ. 2001 ร่วมกับเรียวจิ โนโยริ "สำหรับผลงานว่าด้วยปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาไครัล" ในขณะที่อีกกึ่งหนึ่งมอบให้คาร์ล แบร์รี ชาร์เพลสสำหรับปฏิกิริยาออกซิเดชันแบบไครัล โนลส์เป็นผู้ที่ค้นพบปฏิกิริยาไฮโดรจีเนชันแบบไครัลปฏิกิริยาแรก ๆ โดยใช้ลิแกนด์ฟอสฟีนไครัลในตัวเร่งปฏิกิริยาของวิลคินสัน (Wilkinson's catalyst) แทนไตรฟีนิลฟอสฟีนซึ่งไม่เป็นไครัล ซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยาใหม่นี้สามารถสังเคราะห์สารเคมีแบบคัดเลือกอิแนนชิโอเมอร์ได้ โดยได้ค่าอิแนนชิโอเมอริกเอ็กเซส (enantiomeric excess) หรือผลต่างระหว่างอัตราส่วนของอิแนนชิโอเมอร์หนึ่งต่ออีกอิแนนชิโอเมอร์หนึ่ง 15%

นอกจากนี้โนลส์ยังเป็นคนแรกที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาไครัลไปประยุกต์ใช้กับการสังเคราะห์ระดับอุตสาหกรรม โดยในขณะที่เขาทำงานให้กับมอนซานโต้ เขาได้ใช้ลิแกนด์ DIPAMP สำหรับการสังเคราะห์ L-DOPA[6][7]

Synthesis of L-DOPA via hydrogenation with C2-symmetric diphosphine.

ใกล้เคียง

วิลเลียม เชกสเปียร์ วิลเลียม โมลตัน มาร์สตัน วิลเลียม แอดัมส์ วิลเลียม วอลเลซ วิลเลียม ฮาวเวิร์ด แทฟต์ วิลเลียม รีกัล วิลเลียม ฟอกเนอร์ วิลเลียม ทอมสัน บารอนเคลวินที่ 1 วิลเลียม ชอกลีย์ วิลเลียม สแตนดิช โนลส์

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิลเลียม สแตนดิช โนลส์ //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16286647 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1287994 http://academyofsciencestl.org/initiatives/outstan... http://www.academyofsciencestl.org/initiatives/out... //doi.org/10.1002%2F1521-3773(20020617)41:12%3C199... //doi.org/10.1021%2Fja00460a018 //doi.org/10.1073%2Fpnas.0507546102 http://nobelprize.org/nobel_prizes/chemistry/laure... http://nobelprize.org/prizes/chemistry/2001/knowle... http://www.theaic.org/award_winners/chem_pioneer.h...